การถวายเครื่องบูชาแด่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือการที่เราบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของเทพผ่านการใช้ธาตุทั้ง 5 ที่มีอยู่ในเครื่องบูชาทั้ง 8 อันได้แก่ น้ำดื่ม, น้ำอาบ, ดอกไม้ (ธาตุดิน), ธูปหอม (ธาตุลม), ประทีป (ธาตุไฟ), เครื่องหอม, อาหาร (ธาตุดิน) และเสียงดนตรี (ธาตุที่ว่าง) โดยก่อนถวายเราต้องทำการชำระล้างกาย วาจา และใจเสียก่อน แล้วจึงผสานกาย (มุทรา คือท่ามือแทนสัญลักษณ์) วาจา (มนตร์) และใจ (จินตภาพ) ถวายเป็นเครื่องบูชา
วาจา – บริกรรม “อารกัม” (อรฺฆยมฺ)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายน้ำดื่ม
วาจา – บริกรรม “ปาดยัม” (ปาทฺยมฺ)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายน้ำอาบ (หรือน้ำล้างพระบาท)
วาจา – บริกรรม “บุเป” (ปุษฺเป)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายดอกไม้
วาจา – บริกรรม “ธูเป” (ธูเป)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายธูปหอม
วาจา – บริกรรม “อาโลเก” (อาโลเก)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายประทีป
วาจา – บริกรรม “คันเต” (คํเธ)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายเครื่องหอม
วาจา – บริกรรม “ไนเวดเย” (ไนเวทฺเย)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายอาหาร
วาจา – บริกรรม “ชับตา” (ศพฺท)
ใจ – จินตนาการว่ากำลังถวายเสียงดนตรี
สรุปจากกิจกรรม “ปูชา 2 : มนตร์” กับ อ.ตุล คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
ภาพประกอบ: KHANOON
*ในบางประเพณีอาจมีมนตร์ และมุทราต่างจากนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสายการปฏิบัติที่สืบทอดกันมา มนตร์ในบทความนี้ออกเสียงแบบทิเบต