วัชรสิทธา • vajrasiddha


พื้นที่ของการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ที่เปิดกว้าง

What’s new

“พุทธศาสนาเผชิญทุกข์” (ตอนที่ 1) : หาคำแปลใหม่ให้ Engaged Buddhism

บทความโดย วิจักขณ์ พานิช ในช่วงสงครามเวียดนามในทศวรรษ 1960 ติช นัท ฮันห์ ธรรมาจารย์ชาวเวียดนาม ได้เสนอแนวคิด “Engaged Buddhism” ซึ่งเป็นแนวทางที่นำหลักคำสอนและการปฏิบัติในพุทธศาสนา เรื่องสติสัมปชัญญะ (mindfulness-awarenss) และความกรุณา (compassion) มาเชื่อมโยงกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อม สังคม และการเมือง ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับความรุนแรงจากสงคราม คำคำนี้จึงกลายเป็นที่สนใจทั้งในหมู่ชาวพุทธและชาวโลก ติช นัท ฮันห์ และชุมชนพุทธของท่านได้พยายามประสานการภาวนากับการสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม เพื่อเป้าหมายการบรรเทาทุกข์และสนับสนุนสันติภาพ นอกจากติช นัท ฮันห์ แล้ว สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิชาการพุทธศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวไทย ยังถือเป็นบุคคลสำคัญในการเผยแพร่แนวคิด “Engaged Buddhism” ให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น โดยสุลักษณ์แปลคำนี้เป็นภาษาไทยว่า “พุทธศาสนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม” แม้คำแปลนี้จะช่วยให้คนไทยจำนวนไม่น้อย มองเห็นทางเลือกใหม่ๆ ของการนำคำสอนและการปฏิบัติพุทธศาสนาไปเชื่อมโยงกับมิติทางสังคม แต่ในมุมมองของผู้เขียน ยังไม่สะท้อนความหมายลึกซึ้งตามที่ติช นัท ฮันห์ต้องการได้ครบถ้วน อะไรที่ engaged ใน Engaged Buddhism? เมื่อพินิจความหมายในเชิงประสบการณ์ของคำว่า engaged ใน […]

“9 ข้อคิดสำหรับใคร่ครวญ” : หนทางเผชิญความตายอันไม่อาจหลีกเลี่ยง

บทความโดย โรชิ โจอาน ฮาลิแฟกซ์แปลและเรียบเรียงโดย ทีมงานวัชรสิทธา มีคนกี่คนที่กำลังจะตายวันนี้แล้วรู้ว่านี่เป็นวันสุดท้ายของชีวิต? ฉันคิดถึงเพื่อนที่จากไปโดยที่ไม่ได้ทำโปรเจกต์ให้เสร็จ ไม่ได้มีโอกาสกล่าวคำอำลาคนรักหรือลูก หลายคนไม่ได้ให้อภัยเพื่อน เรามักจะไม่เชื่อว่ามันสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ เราอาจดูแลเพื่อนที่กำลังจะตาย แล้วพลาดไปคิดว่าเราห่างไกลจากประสบการณ์นี้ ในใจเรา อาจแบ่งแยกตัวเองออกจากคนตรงหน้า: “เธอกำลังจะตาย; ฉันคือผู้ดูแลเธอ” แต่ในความเป็นจริง เราเชื่อมโยงกันด้วยสายสัมพันธ์แห่งความไม่เที่ยง บางทีการบอกตัวเองว่า “ฉันก็กำลังจะตายเหมือนกัน” อาจทำให้เรารู้สึกกลัว แต่ความจริงคือ เรากำลังตายอยู่แล้ว ทั้งฉันและเธอ เราทุกคนเชื่อมโยงกันด้วยความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของการสูญเสียและความตาย แม้จะดูเหมือนว่าเรากำลังเดินไปบนถนนแห่งการมีชีวิตอย่างชิลๆ อยู่ก็ตาม ข้อคิดสำหรับใคร่ครวญทั้งเก้าข้อนี้ เป็นวิธีหนึ่งในการสำรวจความเปราะบางและความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของความตาย มันคือมุมมองต่อการมีชีวิตอยู่และการตาย เขียนขึ้นโดยพระภิกษุและปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 11 ที่ชื่อ อติศะ ทิปังกร ศรีญาณะ การฝึกที่ท่านอติศะได้พัฒนาขึ้นนี้ถามเราว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ในชีวิตนี้ ณ ขณะนี้ อะไรคือสิ่งสำคัญภายใต้แสงของความตาย ความจริงที่เรียบง่ายที่ถูกกล่าวถึงในคำสอนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้ในการดำเนินชีวิตของเรา เรากำลังทำอะไรในตอนนี้เพื่อจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น? เรากำลังทำอะไรเพื่อทำงานกับความกลัวและความทุกข์ของตัวเองและของผู้อื่น? เรากำลังทำอะไรเพื่อเตรียมพร้อม ไม่เพียงแต่สำหรับการหลุดพ้นในขณะเผชิญความตาย แต่ยังรวมถึงการหลุดพ้นในชั่วขณะนี้ด้วย? ข้อคิดสำหรับใคร่ครวญทั้งเก้าข้อนี้เหมือนกับการรายงานสภาพอากาศที่เตือนเราเกี่ยวกับพายุที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต การเตือนนี้ไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่หรืออย่างไร แต่มันบอกเราว่าพายุนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และเราควรเตรียมตัวไว้ให้พร้อม ดังนั้น หากเป็นเช่นนั้น ทำไมไม่เตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ล่ะ? ทำไมไม่ปลูกฝังวิถีชีวิตที่ฝึกให้เราตื่นรู้—ทั้งในชีวิตและการตาย? การยอมรับความจริงในเรื่องความหลีกเลี่ยงไม่ได้ของความตาย […]

ภาวนาด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง : การฟังอย่างมีสติสามแบบ

บทความโดย ติช นัท ฮันห์แปลและเรียบเรียงโดย ทีมงานวัชรสิทธา การฟังผู้อื่นอย่างลึกซึ้งเป็นรูปแบบหนึ่งของการภาวนา เราตามลมหายใจและฝึกสมาธิระหว่างการฟัง และเราจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับคนอื่นที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เมื่อเราฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง เราจะสามารถช่วยคนที่เราฟังให้ขจัดการรับรู้ที่กำลังทำให้พวกเขาทุกข์ทรมานออกไปได้ เราสามารถฟื้นฟูความสมดุลในความสัมพันธ์ มิตรภาพ ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และระหว่างประเทศ การฟังนั้นทรงพลังมาก ก่อนที่จะฟังผู้อื่นได้ดี เราจำเป็นต้องให้เวลาในการฟังตัวเอง บางครั้งเมื่อพยายามฟังผู้อื่น เรากลับไม่สามารถได้ยินสิ่งที่พวกเขากำลังพูด เพราะอารมณ์และความคิดของเราดังเกินไป เหมือนมีเสียงตะโกนอยู่ข้างในที่ร้องเรียกความสนใจของเราอย่างไม่หยุดหย่อน เราควรจะสามารถนั่งเงียบๆ อยู่กับตัวเองได้ กลับมาหาตัวเองได้ และฟังว่ามีอารมณ์ใดกำลังเกิดขึ้นโดยไม่ตัดสินหรือขัดจังหวะ เราสามารถฟังความคิดที่เกิดขึ้นและปล่อยให้มันผ่านไปโดยไม่ยึดติดกับมัน เมื่อเรามีเวลาฟังตัวเอง เราก็จะสามารถฟังผู้อื่นได้ดีขึ้น เมื่อฟังตัวเองอย่างลึกซึ้ง เราจะสามารถเข้าใจตัวเอง ยอมรับตัวเอง รักตัวเอง และเริ่มสัมผัสได้กับความสงบสันติภายใน บางทีเราอาจยังไม่ยอมรับตัวเอง เพราะเราไม่เข้าใจตัวเองเลย เราไม่รู้วิธีฟังความทุกข์ของตัวเอง ดังนั้น เราจำเป็นต้องฝึกฟังความทุกข์ของตัวเองก่อน เราต้องอยู่กับมัน รู้สึกกับมัน และโอบกอดมัน เพื่อจะได้เข้าใจมันและให้มันค่อยๆ แปรเปลี่ยน บางทีความทุกข์ของเราอาจมีต้นกำเนิดมาจากพ่อแม่ของเรา หรือจากบรรพบุรุษของเรา หรือแม้กระทั่งจากประเทศชาติของเรา การฟังตัวเองจะช่วยให้เราเข้าใจความทุกข์ของเรา ความทุกข์ของพ่อแม่เรา และของบรรพบุรุษ เรา และเราจะรู้สึกได้ถึงเซนส์ของการปลดปล่อย เมื่อเรามีเวลาฟังตัวเอง […]

บทความและเรื่องราว

กิจกรรมของเรา

มีเดีย