Embracing the Internal Conflicts :โอบกอดความขัดแย้งภายใน เพื่ออิสรภาพและการเติบโตทางจิตวิญญาณ กับ ณัฐฬส วังวิญญู และ สมพล ชัยสิริโรจน์
2-4 กันยายน 2565
ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ 3 วันเข้มข้นต่อเนื่อง
9.00-17.00 น.
ณ วัชรสิทธา เทเวศร์
รับจำนวนจำกัด 20 ท่านเท่านั้น!
ลงทะเบียนเรียน 4,850 บาท
สมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ลด 10% เหลือ 4,365 บาท
หมายเหตุ เรียนในพื้นที่จริง ไม่มีฟังย้อนหลัง
ในยุคนี้เราจะพบว่าจิตแพทย์หลายคนหันมาสนใจการฝึกสมาธิภาวนา ส่วนชาวพุทธก็หันมาสนใจจิตวิทยากันมากขึ้น ทั้งสององค์ความรู้ต่างแสวงหาอิสรภาพจากความทุกข์ แต่มีหนทางหรือวิธีการไปให้ถึงเป้าหมายนี้ต่างกัน
จิตวิทยานั้นให้ความเข้าใจ “ที่มาหรือต้นตอ” ของความทุกข์ทางใจที่มีผลสืบเนื่องมาจากบาดแผลทางจิตใจในวัยเด็ก หรือวัยรุ่น รวมทั้งปัจจัยทางวัฒนธรรมและสังคม ในขณะที่พุทธศาสนาให้ช่องทางและแนวทางการฝึกฝนเพื่อเข้าถึงความดีงามพื้นฐาน ความตื่นรู้และอิสรภาพภายในได้อย่างไม่มีเงื่อนไข
ดังที่บรูซ ทิฟท์ ธรรมาจารย์สายวัชรยานและจิตแพทย์ชาวอเมริกันได้เสนอว่า หากเราเรียนรู้ที่จะใช้แนวทางของทั้งสองสายมาประกอบกัน มันจะช่วยให้เรา
เข้าถึงความมั่งคั่งหลากหลายของประสบการณ์การมีชีวิต ไม่ว่าจะที่มาก่อกวนเราหรือล่อลวงให้เพลิดเพลินได้อย่างเข้าใจสมบูรณ์มากขึ้น
กระบวนการภาวนาเพื่อการเข้าใจตัวเองเพื่อไปให้ถึงอิสรภาพ ความมั่นคงและความจริงแท้ที่กว้างใหญ่ไพศาลขึ้นนั้นจำต้องอาศัยการเข้าไปทำงานกับชีวิตภายในด้านต่างๆ ทั้งด้านที่เป็นกรงกรอบที่คุมครอบเราไว้และจำกัดศักยภาพและความเป็นไปได้ที่หลากหลายในชีวิตไว้ไม่ให้มีชีวิตอย่างที่เราปรารถนา อีกทั้งยังส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวให้มีความขัดแย้งในระดับต่างๆ ทั้งๆที่ไม่มีใครปรารถนาหรือตั้งใจจะให้เกิด
ต่อเมื่อเราสามารถมองเห็นและเข้าใจตัวตนภายในตัวเองที่มีแตกต่างหลากหลายแล้วเราจึงจะมี “ทางเลือก” ในการเป็นคนที่มากขึ้น ในทางตรงข้าม หากเราปฏิเสธที่จะมองหรือทำความเข้าใจกับด้านต่างๆในตัวเอง โดยเฉพาะด้านที่เราไม่ขอบหรือเป็นด้านที่เราปฏิเสธในตัวเอง เราก็อาจจะถูกอิทธิพล “มืด” ของด้านเหล่านี้ครอบงำมากยิ่งขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ลุกลามไปจนถึงการพิพากษาตัดสินคนอื่นที่มีด้านที่เราไม่ยอมรับในตัวเอง
“Everyone carries a shadow, and the less it is embodied in the individual’s conscious life, the blacker and denser it is. At all counts, it forms an unconscious snag, thwarting our most well-meant intentions.”
– Carl Jung
ตลอดสามวันของการ “โอบกอดความขัดแย้งภายใน” จะเป็นการทำงานกับโลกภายในของตัวเอง ผ่านกระบวนการของการภาวนาและการสนทนากับเสียงด้านใน ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจขั้วขัดแย้งต่างๆในตัวเอง ทั้งที่เรารับรู้และไม่รับรู้ได้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่ว่าจะแปรเปลี่ยนให้เป็นศักยภาพและความกระจ่างชัดของการฟังเสียงภายในได้อย่างลึกซึ้ง
วิทยากร
อ.สมพล ชัยสิริโรจน์
“ประสบกร” ผู้ที่มาด้วยประสบการณ์ของการทำงานกับ “เสียงภายใน” มาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี อย่างที่เรียกว่า “เอาชีวิตเข้าแลก”
อ. สมพลได้ไปเรียนกับปรมาจารย์ต้นสาย ดร. ฮัลและซิคร้า สโตน และ ทามาร์ สโตน ครูอาวุโสในวิชา Voice Dialogue ที่เป็นการพัฒนากระบวนการทางจิตวิทยาในสายของคาร์ล ยุง ที่สหรัฐอเมริกา ในการทำความเข้าใจกับตัวเอง และความสัมพันธ์ผ่านจิตวิทยาตัวตน และการสนทนากับเสียงภายใน
ณัฐฬส วังวิญญู
ผู้สอนการภาวนาและข้าม “ขอบ” เขตข้อจำกัดของชีวิตผ่านกระบวนการจิตวิทยาภายในตัวเองและภายในกลุ่มผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Process Work โดยมีที่มาจากงานของคาร์ล ยุง เช่นกัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้จัดการกับความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกตัวเราได้มากขึ้น