“พุทธศาสน์นาลันทา” หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาร่วมสมัย – Module 1 : พื้นฐานวิชาการ : พุทธศาสน์ศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อบริบทและการตีความ

พุทธศาสน์นาลันทา
หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาร่วมสมัย (Contemporary Buddhist Studies) โดย วัชรสิทธา

Module 1 : พื้นฐานวิชาการ : พุทธศาสน์ศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อบริบทและการตีความ
รวม 56 ชั่วโมง
25 พฤษภาคม 2567 – 23 มิถุนายน 2567

🎈สมัครเรียน “รุ่นศูนย์”

เข้าเรียนครบทั้ง 4 วิชา – 56 ชั่วโมง
เพียง 13,500 บาท
(จากราคาเต็ม 17,000 บาท)

รับจำนวนจำกัด 20คน
หากไม่เต็มจึงจะเปิดรับรายวิชา

**สิทธิพิเศษสำหรับ “นักเรียนรุ่นศูนย์”
สามารถมาทบทวนเรียนซ้ำ module 1 อีกกี่รอบก็ได้ ฟรี!

ย้อนหา “จิตวิญญาณนาลันทา” อันเปี่ยมพลวัต ท้าทาย และเปิดกว้าง ที่ธรรมาจารย์อย่าง นาคารชุน, ศานติเทวะ, พระถังซัมจั๋ง, นาโรปะ, อสังคะ, วสุพันธุ, ธรรมกีรติ, จันทรกีรติ, ทิคนาคะ ฯลฯ ล้วนมีเส้นทางจิตวิญญาณข้องเกี่ยวกับนาลันทาทั้งสิ้น เรียนรู้แนวทางศึกษาพุทธธรรมที่บรรสานกับศิลปะวิทยาการ ตรรกวิทยา ภาษาศาสตร์ สัมพันธ์กับสังคมวัฒนธรรม บริบทร่วมสมัย และเปิดกว้างต่อแนวทางที่หลากหลาย ทั้งสาวกยาน มหายาน และตันตระ

ในปี 2567 นี้ เราจะเริ่มทดลองการเรียนการสอนใน Module1 ซึ่งจะเป็นส่วนปูพื้นฐานทักษะทางวิชาการด้านพุทธศาสน์ศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีมุมมองและเครื่องมือสำหรับการแสวงหาปัญญา ทั้งในการทำความเข้าใจบริบทที่พุทธศาสนาเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป การตีความคัมภีร์/เรื่องเล่าทางศาสนา หรือกระทั่งในการสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตอย่างตื่นรู้

1) “ไตรยาน : หินยาน – มหายาน – วัชรยาน”
พัฒนาการของพุทธศาสนาในอินเดีย จากมุมมองแบบทิเบต (Introduction to Indo-Tibetan Buddhism)

14 ชั่วโมง
25-26 พ.ค. 9.00-17.00 ณ วัชรสิทธา
สอนโดย วิจักขณ์ พานิช

ตั้งแต่การเกิดขึ้นถึงการล่มสลายในอินเดีย แล้วไปเบ่งบานต่อในทิเบต มีอะไรเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาช่วงเวลานั้นบ้าง รูปแบบ สายปฏิบัติ สำนักคิด พัฒนาการของคำสอน ศิลปะวัตถุ สถาปัตยกรรม ซึ่งจะทำให้เห็นตำแหน่งแห่งที่ของพุทธศาสนารูปแบบหลักทั้งสามในโลกปัจจุบัน อันได้แก่ เถรวาท มหายาน และวัชรยาน (ตันตระ) ในบริบททางประวัติศาสตร์ได้กระจ่างชัดขึ้น

2) “ภารตะทัศน์” : ศาสนาและมโนทัศน์สำคัญในอินเดีย

14 ชั่วโมง
1-2 มิ.ย. 9.30-12.30, 13.30-16.30 ณ วัชรสิทธา
4 มิ.ย. 18.30-20.30 ออนไลน์
สอนโดย ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

ก่อนพระพุทธเจ้า “ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง” พระองค์เรียนอะไรกับอาฬารดาบสและอุทกดาบส?

พุทธศาสนาไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ทว่าเกิดขึ้นจากบริบททางประวัติศาสตร์และบรรยากาศทางความคิดของอินเดียในสมัยนั้น กระแสสมณะที่ท่องไปเรื่อยๆเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของยุคสมัย ร่วมกับอุปนิษทาจารย์ ศาสนาไชนะ ที่ก่อรูป “มโนทัศน์กลาง”ของอินเดียที่ค่อยๆแตกแขนงคำอธิบายและรายละเอียดที่ต่างกันออกไป ในคลาสนี้เราจะมาทำความเข้าใจมโนทัศน์ปรัชญาอินเดียพื้นฐานที่ว่านี้ เพื่อจะได้เข้าใจพัฒนาการความคิดก่อนและหลังการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา หรืออาจกล่าวได้ว่า อาจช่วยให้เข้าใจพุทธศาสนาได้มากขึ้น

3) “What is Theravada?” – ฉันคือใคร? ส่องสะท้อนย้อนดูตนในอัตลักษณ์ความเป็นพุทธเถรวาท

14 ชั่วโมง
13 มิ.ย. 18.30-20.30 ออนไลน์
15-16 มิ.ย. 9.30-12.30, 13.30-16.30 ณ วัชรสิทธา
สอนโดย ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน

เรียนรู้ประวัติพุทธศาสนาเถรวาทด้วยมุมมองแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ ทำความเข้าใจอัตลักษณ์และความหมายของเถรวาทที่มีต่อวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของชาวพุทธ ผ่านเรื่องราวการแสวงหาความรู้ การตรัสรู้และการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าในยุคเริ่มแรก พินิจวิถีชีวิตของภิกษุและภิกษุณีผ่านเรื่องราวในคัมภีร์พระไตรปิฎก สำรวจพัฒนาการของคณะสงฆ์และพุทธศาสนาเถรวาทในยุคหลังพุทธกาล พิจารณาข้อถกเถียงเกี่ยวกับสถานะการเป็นพุทธศาสนาเถรวาทในบริบททางประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาในอินเดีย วิธีการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการแห่งเหตุผลในประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของพุทธศาสนาเถรวาทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การดำเนินชีวิตแบบพรตนิยมในบริบทของอินเดียโบราณ แสวงหาความหมายและความงดงามของการเป็นเถรวาทในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน

4) “Buddhist Hermeneutics” : การตีความพุทธศาสน์

14 ชั่วโมง
18 มิ.ย. 18.30-20.30 ออนไลน์
22-23 มิ.ย. 9.30-12.30, 13.30-16.30 ณ วัชรสิทธา
สอนโดย ศ.ดร. สุวรรณา สถาอานันท์

สืบค้นหาความหมายของพุทธธรรมที่ปรากฎในเรื่องเล่าและบทสนทนาระหว่างพระพุทธองค์กับผู้คนต่างเพศต่างวัยต่างวรรณะในสมัยพุทธกาลที่มาพบพระพุทธองค์ด้วยความทุกข์

ศาสตร์แห่งการตีความ (Hermeneutics) เป็นทั้งเครื่องมือหรือวิธีการอ่านตัวบทคัมภีร์ และยังชี้บ่งถึงภววิทยาการดำรงอยู่ของมนุษย์ผู้อ่านและตีความสารที่แฝงมากับสื่ออันหลากหลายที่รายล้อมรัดรึงและเรียกร้องให้เราทำความเข้าใจอยู่เสมอ

เราจะเห็นได้ว่าชีวิตประจำวันของเราก็เป็นตัวบท (Text) ที่พึงอ่านและตีความจึงจะรองรับและตอบสนองต่อเพชรแห่งพุทธธรรมอันทรงคุณค่าได้