Meditation Methodology : ภาวนาในฐานะปรากฏการณ์แห่งการตื่นรู้ กับ ผศ.ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล 21-22 ก.ย. 67

Meditation Methodology
ภาวนาในฐานะปรากฏการณ์แห่งการตื่นรู้

กับ ผศ.ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล

พุทธศาสน์นาลันทา 📿
Buddhist Studies Elective

21-22 กันยายน 2567
9.30 – 16.30 น.
ณ วัชรสิทธา

ลงทะเบียนเรียน 3,850 บาท
สมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ลด 10% เหลือ 3,465 บาท
*ส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียนที่ลงเรียนทั้งหลักสูตรพุทธศาสน์นาลันทา “ทั้ง module1” หรือ “ทั้ง module2” – ลดค่าลงทะเบียน เหลือ 3,200 บาท เท่านั้น

กรุณาโอนค่าสมัครไปยัง
บัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกระบือ ประเภทออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “มูลนิธิวัชรปัญญา” เลขที่ 053-3-67904-8

แล้วจึงกรอกแบบฟอร์มสมัครนี้

มาทำความรู้จักประสบการณ์การภาวนาจากมุมมองเชิงวิพากษ์ วิเคราะห์วิจัยผลลัพธ์ของการปฏิบัติและประสบการณ์ของการตื่นรู้จากมุมมองแบบสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เพื่อเข้าใจ Enlightenment ในฐานะปรากฏการณ์

เหมาะสำหรับนักวิชาการด้านปรัชญาศาสนา และผู้ปฏิบัติภาวนาที่มีมุมมองที่เปิดกว้าง

Class Outline:
Day1: เสาร์ 21 กันยายน

มองศาสนาในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคม: มองอย่างไร?

1.อะไรคือ ปรากฏการณ์ทางสังคม

2.ตัวอย่างคลาสสิคของการศึกษา Sociology of Religion: Max Weber
​-จุดต่างระหว่างวิธีศึกษาแบบ Religious Studies กับ Sociology of Religion
​-จุดเด่นในวิธีการศึกษาของ Weber
​​-การนิยาม rationality ใหม่
​​-การเชื่อมปัจเจกและโครงสร้าง, เชื่อมนามธรรม (จิต)และรูปธรรม(วัตถุ)
​​-การใช้การศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม

3. ตัวอย่างงานร่วมสมัย ที่อ่านพระวินัยปิฎกจากมุมมองทางสังคม: Shayne Clark, Family Matters in Indian Buddhist Monasticism : การมองนักบวชสมัยพุทธกาลที่ฉีกจากระแสหลัก

4. Body & Awareness ร่างกายจากมุมสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา
​- ร่างกายเป็นที่ซ้อนทับกันของพื้นที่ชนิดต่างๆ physical body, social body, imagined body
​-ความเป็นเพศ : Nature or Culture? ปัญหาการนิยามความเป็นเพศ
​- ร่างกาย: Individual or Structure? การครอบงำและการต่อต้าน
​- ร่างของหญิงและชาย: ความเป็นเพศในการปฏิบัติธรรม : Kathryn Blackstone, Women in the Footsteps of the Buddha: Struggle for Liberation in the Therīgathā : การเปรียบเทียบชีวิตทางสังคมของพระอรหันต์หญิงและชายสมัยพุทธกาล
– ร่างกาย, ธรรมะ กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ: พื้นที่ที่สามกับการเปิดพื้นที่ของผู้หญิงและคนข้ามเพศ : ดูกรณ๊ศึกษาต่างๆในปัจจุบัน

5. สังคมโลกาเทศานุวัติ (glocalization)กับศาสนา: เราจะไปกันทางไหน?
​-การปะทะประสานกันของพุทธ ไสย ทุนนิยมและวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน (rationalization vs. re-mystification)
​-ตรรกะการมองความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและสังคม: สรุปการอภิปรายการหาทางออก(ฉบับย่อ)

Day2 : อาทิตย์ 22 กันยายน

วิปัสสนา-ภาวนา ในฐานะพื้นที่รอยต่อและตัวเชื่อมเชิงมโนทัศน์

1. วิปัสสนา-ภาวนา กับการปฏิวัติความหมายของคำว่า “ความเข้าใจ” (understand): ศึกษาจากมุมมองของแนวคิดปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology)กับแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความ(Hermeneutics) ​

2. วิปัสสนา-ภาวนา ในฐานะประตูเชื่อมจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก

3. วิปัสสนา-ภาวนา กับปฏิสัมพันธ์ของ Universalism กับ Particularism: การเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม Danial Brown, Brown, Daniel, The Stages of Meditation in Cross-Cultural Perspective, in Wilber, Ken, Engler, Jack, Brown, Daniel. Transformations of Consciousness: Conventional and Contemplative Perspectives on Development. และงานศึกษาการปฏิบัติแบบท่านโกเอนก้าในหมู่ฮินดู ยิว และเคสวิปัสสนาในอเมริกาและไทย

4. การเชื่อมปัจเจกกับโครงสร้าง ตัวอย่างการปฏิบัติแบบ Naikan

5. วิปัสสนา-ภาวนา และ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในหลากมิติ (เพศ,ชนชั้น,นิกาย) : กรณีศึกษาต่างๆ

6. การทดลองปฏิบัติสั้นๆและการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์