“โลจอง”: โศลกโพธิจิต
กับ เอลิซาเบธ โอมสเตท
ร่วมด้วย วิจักขณ์ พานิช
9.00-17.00 น.
17-18 สิงหาคม 2567
ณ วัชรสิทธา เทเวศร์
สอนเป็นภาษาอังกฤษ มีแปลไทย
ค่าลงทะเบียน 3,850 บาท/ท่าน
** ราคาสมาชิกกิจกรรมเหลือ 3,465 บาท/ท่าน
*** สมัครสมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ได้ในราคา 5,500 บาท สามารถใช้สิทธิเข้ากิจกรรมนี้ได้ฟรี และรับส่วนลดในการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งปีในราคาพิเศษ
หมายเหตุ : เรียนในพื้นที่จริง ไม่มีรับชมบันทึกย้อนหลัง
” โศลกของโลจองจะเข้ามากระทุ้งเราให้ตื่นขึ้นและละทิ้งความเสแสร้งของเราเอง เพราะนอกจากโศลกจะกล่าวถึงการเป็นความรักและความกรุณาแล้ว มันยังชี้ให้เห็นว่าเราควรมี การกระทำ แบบไหนอีกด้วย
ไม่เพียงแต่ความเข้าใจเชิงทรรศนะ โลจองให้ความสำคัญกับการกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะมีประโยชน์อะไรกับการที่เราแค่มีความคิดเรื่องความรัก ความเมตตา หรือ รู้สึกถึงความอบอุ่นที่อยู่ภายใน ประเด็นทั้งหมดไม่ใช่เรื่องเหล่านั้น แต่เป็นเรื่องของแรงบันดาลใจที่กว้างขวางของเราในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ตัวเราเอง และโลกใบนี้ไปพร้อมๆ กัน
ทุกครั้งที่โศลกโลจองปลุกให้เราตื่นและเข้ามาทำงานกับทัศนคติและพฤติกรรมของเรา เราจะขยายขอบเขตของความเข้าใจว่าอะไรคือการกระทำแห่งความกรุณาที่มาจากปัญญาญาณจริงๆ”
– บทความ The Why and How of Lojong, or Mind Training เว็บไซต์ Lion’s roar โดย Judy lief
โลจอง เป็นชื่อเรียกคำสอน 59 โศลก แต่งขึ้นโดยธรรมาจารย์นามอุโฆษแห่งศตวรรษที่ 11 “อติศะ ดิปังคาระ ศรีจินญาณา” ท่านแต่งโศลกแก่นธรรมไว้สำหรับการฝึกฝนโพธิจิตของผู้ปฏิบัติมหายาน ทั้งในประสบการณ์การภาวนา (absolute) และประสบการณ์หลังการภาวนา (relative)
โลจองไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อโปรโมททรรศนะทางศีลธรรม แต่มีเป้าหมายเพื่อบ่มเพาะธรรมชาติเนื้อแท้แห่งโพธิจิตให้เบ่งบานงอกงาม ในฐานะคุณสมบัติของความรักความกรุณาในชีวิตประจำวัน โศลกทั้ง 59 บท ถูกเรียบเรียงออกเป็น 7 หมวด ซึ่งทำงานกับชีวิตประจำวันของเราในบริบทต่างๆ
สองวันของคลาสเรียนนี้ เราจะเริ่มด้วยการอ่านโศลกไปด้วยกัน มีเวลาได้ใคร่ครวญความหมายของแต่ละโศลก นำเอาสถานการณ์หรือประสบการณ์ในชีวิตจริงที่เราเผชิญมาตรึกตรองทบทวน เพื่อที่เราจะได้เชื่อมทุกแง่มุมของชีวิตกับสัมปชัญญะแห่งการภาวนา ด้วยความที่โศลกโพธิจิตเกี่ยวข้องกับการคำนึงถึงผู้อื่นก่อนตัวเอง เราจะค้นพบโอกาสของการบ่มเพาะคุณสมบัติของไมตรี – ความรักความเมตตาต่อตัวเราเองไปพร้อมๆ กันด้วย
Elizabeth Olmsted
Born in Scotland 1948. In search of dharma, went overland to India 1970 -71. Practiced Yoga and Vedanta with Sivananda Swami Jyotir Maya Nanda, including 6 months as a nun.
From 1973 studied and practiced with Chogyam Trungpa Rinpoche for 10 years. Started Miami center. In Boulder, taught Hinayana and Mahayana classes, completed Ngondro practice, and 2 year Nge-Don Program at Naropa Institute.
In 1983, with Trungpa Rinpoche’s blessings, moved to Nepal to study with Tulku Urgyen Rinpoche. Lived mostly in Asia since then, continuing Buddhist studies with TUR’s illustrious dharma heirs.