Dharma Art Class 🎨
วาด “อัษฏมงคล”
สัญลักษณ์มงคล 8 ประการ
ศิลปะกับการภาวนา : ผ่านการวาดภาพจิตรกรรมแบบทิเบต
(ทังกะ)
กับ อ.ดอน ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา
1-2 กุมภาพันธ์ 2568
9.30 – 16.30 น.
ณ วัชรสิทธา
ค่าลงทะเบียน 3,850 บาท
ราคาสมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ลดเหลือ 3,465 บาท
* รวมค่าอุปกรณ์ทุกอย่าง สี พู่กัน ผ้าใบ ฯลฯ
**ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์หรือทักษะในวาดรูปก็เข้าร่วมได้
อัษฏมงคล หรือ สัญลักษณ์มงคล 8 ประการ เป็นสัญลักษณ์มงคลที่มีรากมาจากอินเดีย โดยถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในพุทธมหายานและวัชรยาน รูปแบบศิลปะในการสื่อสารสัญลักษณ์เหล่านี้แตกต่างกันออกไปตามแต่วัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนในทิเบตได้นำเอาสัญลักษณ์เหล่านี้เข้ามาใช้ในพื้นที่ประจำวันอย่างการประดับบ้านหรือศิลปะสาธารณะ ซึ่งสื่อถึงความผสมกลมกลืนของพุทธธรรมกับวิถีชีวิต
ความหมายของสัญลักษณ์มงคลทั้งแปดมีความลึกซึ้งแยบคาย
• ฉัตร (Chatra) – สัญลักษณ์ของการคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้ายและความทุกข์
• ปลาทองคู่ (Matsya) – สัญลักษณ์ของธรรมชาติที่ไม่แปดเปื้อนโดยสังสารวัฏ
• สังข์ (Shankha) – สัญลักษณ์ของเสียงแห่งธรรมะที่ปลุกให้สรรพสัตว์ตื่นจากอวิชชา
• ดอกบัว (Padma) – สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ของจิตเดิมแท้
• ธงชัย (Dhvaja) – สัญลักษณ์แห่งชัยชนะเหนืออวิชชา
• โถรัตนะ (Kalasha) – สัญลักษณ์ของความสมบูรณ์และความมั่งคั่งอันไม่มีประมาณของพุทธธรรม
• วงล้อธรรมจักร (Dharmachakra) – สัญลักษณ์ของธรรมะและการเผยแผ่ธรรม
• เงื่อนมงคล (Shrivatsa หรือ Eternal Knot) – สัญลักษณ์แห่งความรักอันไร้เงื่อนไขและความเอื้ออิงอาศัยของสรรพสิ่ง
มงคล 8 ประการ เป็นเครื่องเตือนใจสำคัญที่ทำให้จิตใจของเราไม่ห่างจากธรรม และเราสามารถนำเอาสัญลักษณ์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากรูปแบบ วัชรสิทธาขอชวนมาเรียนรู้การวาดภาพสัญลักษณ์ทั้ง 8 เพื่อภาวนากับพุทธศิลป์ที่จะเข้ามาปลุกความหมายแห่งมงคลภายในตัวเรา
———————–
ความสำคัญของธรรมศิลป์
“ทุกศาสนาจะมีการใช้ภาพเข้ามาช่วยในการอธิบายคำสอน เพราะบางอย่างก็เป็นสิ่งที่อธิบายผ่านตัวหนังสืออย่างเดียวไม่ได้ มันจึงเกิดเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ที่เข้ามาช่วยอธิบายสภาวะต่างๆ ของมนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่ได้จดจำสิ่งต่างๆ ในรูปแบบของข้อมูลตัวหนังสือ แต่จำเป็นภาพ
ธรรมศิลป์ หรือ ศิลปะที่เป็นธรรมะ จึงเป็นเครื่องมือที่เกิดขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด จากวิธีการที่มนุษย์ใช้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ มันจึงช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกหรือสารบางอย่างที่ผู้สื่ออยากให้เราเข้าใจ”
– ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา –
———————–
วิทยากร
อ.ดอน ศุภโชค
มีความสนใจด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์ โดยเฉพาะในแง่มุมที่เชื่อมโยงกับศาสนาต่างๆ ตลอดจนความเชื่อและความคิดของผู้คน มีความสนใจในพุทธศาสนาหลายสายปฏิบัติ รวมถึงพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนั้นยังเป็นแอดมินและคนวาดการ์ตูนเพจ Zen Smile, Zen Wisdom