Third Turning of the Wheel of Dharma : การหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สาม กับ วิจักขณ์ พานิช 3, 5-6 ต.ค. 67

พุทธศาสน์นาลันทา 📿
หลักสูตรพุทธศาสน์ศึกษาร่วมสมัย (Contemporary Buddhist Studies) โดย วัชรสิทธา
Module 2 : The Three Turnings

วิชาที่ 3) Third Turning of the Wheel of Dharma : การหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สาม ☸

โดย วิจักขณ์ พานิช

*ลงทะเบียนเรียนได้เฉพาะผู้ที่ผ่านวิชาที่ 2) Second Turning of the Wheel of Dharma : การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สอง มาแล้วเท่านั้น

ตารางเรียน 🗓️
3 ต.ค. 67 : เวลา 18.30-21.00 น.
5-6 ต.ค. 67 : เวลา 9.30-16.30 น.
เรียนในพื้นที่จริง ณ วัชรสิทธา เทเวศร์

ค่าลงทะเบียน 4,250 บาท

ราคาสมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ลดเหลือ 3,825 บาท

หมายเหตุ : เรียนในพื้นที่จริง ไม่มีรับชมย้อนหลัง

การหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สามคือคำสอนสุดท้ายของพุทธะ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นคำสอนระดับปรมัตถธรรมที่สมบูรณ์และไร้เทียมทาน

ในการหมุนครั้งที่สามเป็นการกล่าวถึง โลกปรากฏ (Phenomenal world) ความจริงสัมพัทธ์อันบริสุทธิ์ (Pure Relativity) และศักดิ์สิทธิ์สมบูรณ์ในตัวมันเอง (Great Perfection)

คำสอนซึ่งเป็นปรมัตถ์และหมดจดของการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สาม ไม่ได้นำเสนอสภาวะความเป็นจริงที่ต่างออกไปจากครั้งที่สอง แต่ท่าทีของการอธิบายถึงความว่างนั้นสมบูรณ์กว่า และมีแนวโน้มที่จะสร้างความเข้าใจผิดน้อยกว่า

การหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่สามกระตุ้นความสนใจของเราด้วยการอธิบายว่า “มีอะไรที่หลงเหลืออยู่ในความว่าง” การอธิบายนี้ถูกมอบผ่านหลักคำสอนที่เรียกว่า “ตรีสวภาวะ” – ธรรมชาติสาม (Three Natures) นอกจากนั้นยังลงลึกไปสู่การทำความเข้าใจ “วิญญาณ 8” โดยเฉพาะพื้นแห่งการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง อันเรียกว่า “อาลัยวิญญาณ”

เช่นเดียวกับการหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สอง การหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สามกล่าวถึง สุญญตา อันเป็นธรรมชาติแห่งความไม่มีตัวตนตัวตนของสรรพสิ่ง ซึ่งมักถูกปกคลุมโดยความคิดเวอร์ชันต่างๆ ของเรา ในการหมุนกงล้อธรรมครั้งที่สาม เพิ่มเติมสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมชาติแห่งการอิงอาศัย (Dependent Nature)” หรือ ปรตันตระ เพื่อให้เห็นความแยกขาดกันไม่ได้ของ สังสารวัฏ-นิพพาน ศักยภาพของการแปรเปลี่ยน และการตรัสรู้อันไปพ้นทวิลักษณ์

Third Turning หรือ “มหายาน II” ของสำนักโยคาจาร เป็นกระบวนทัศน์คำสอนที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของพุทธศาสนาวัชรยานหรือตันตระ และวิถีภาวนาแบบ non-dual meditation อย่างที่พบในสายปฏิบัติมหามุทรา หรือ ซกเช็น