19-20 มีนาคม 2565
เวลา 9.00-17.00 น.
ณ วัชรสิทธา
ลงทะเบียนเรียน 3,650 บาท
(สมาชิกกิจกรรมวัชรสิทธา ลด 10% เหลือ 3,285 บาท)
พิเศษ!! นักเรียน นักศึกษา นักกิจกรรม ผู้มีรายได้น้อย อายุไม่เกิน 25 ปี มีทุนการศึกษาให้ 5 ทุน (ขณะนี้เหลือ 2 ทุน) ลดค่าเรียนให้เหลือ 2,300 บาท/ ท่าน ทักมาได้ทางกล่องข้อความ เพจวัชรสิทธา
รับจำนวนจำกัดเพียง 15 ท่าน
หมายเหตุ เรียนในพื้นที่จริง ไม่มีฟังย้อนหลัง
“Washing one’s hands of the conflict between the powerful and the powerless means to side with the powerful, not to be neutral”
Paulo Freire
แนวคิดของเปาโล เฟรเร่ แสดงถึงการโต้ตอบของจิตสำนึกที่สร้างสรรค์และละเอียดอ่อนต่อความทุกข์ยากและความรันทดของผู้คนที่ถูกกดขี่ที่พบเห็นได้รอบตัว เขาตระหนักว่า”วัฒนธรรมแห่งความเงียบงัน” ความไม่รู้ ความเฉื่อยชา คือ ผลผลิตทางตรงของสถานการณ์ทั้งหมดแห่งการครอบงำทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง และของระบบ ”พ่อปกครองลูก” ที่ซึ่งผู้คนเหล่านั้นคือเหยื่อ เห็นได้ชัดว่าระบบการศึกษาทั้งหมด คือ หนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับการธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมแห่งความเงียบงันนั้น
ไม่มีกระบวนการศึกษาที่ ”เป็นกลาง” การศึกษาจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้ในการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่เป็นอยู่เพื่อความสยบยอม หรือ การศึกษาจะกลายเป็น”การปฏิบัติการแห่งอิสรภาพ” อันเป็นหนทางที่มนุษย์เผชิญกับสภาพความเป็นจริงอย่างวิพากษ์วิจารณ์และสร้างสรรค์ และค้นพบวิธีการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลกของพวกเขา
เวิร์คชอปสองวันนี้ เป็นพื้นที่ทดลองเล็กๆ ที่อยากเชิญชวน ครู อาจารย์ นักการศึกษา นักกิจกรรมทางสังคม เยาวชนคนรุ่นใหม่ และผู้สนใจ มาร่วมทำความรู้จักแนวคิดด้านการศึกษาของเปาโล เฟรเร่ ที่มีอิทธิพลต่อนักการศึกษาและนักเคลื่อนไหวทางสังคมมากว่าครึ่งศตวรรษ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากมุมมองของนักปฏิบัติการที่ได้รับอิทธิพลจากหนังสือเล่มนี้ ฝึกฝนทักษะวิธีการที่สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทอันหลากหลาย ทั้งในระดับตนเอง ครอบครัว ห้องเรียน และ พื้นที่ทางสังคมอื่นๆ
กำหนดการ
19 มีนาคม 2565
9.00-9.30
10.30-12.30
12.30-13.30
13.30-15.30
16.00-17.00
เช็คอิน
เสวนา แลกเปลี่ยน แนวคิดของเฟรเร่ที่มีผลต่อกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา
พักเที่ยง
workshop “อำนาจและตัวตนของผู้ถูกกดขี่”
สนทนา
20 มีนาคม 2565
9.00-12.30
12.30-13.30
13.30-15.30
16.00-17.00
workshop “จากแนวคิดการศึกษาของผู้ถูกกดขี่สู่ปฏิบัติการปลดปล่อยในห้องเรียน”
พักเที่ยง
วงสนทนา “จากหนังสือสู่การปฏิบัติการอันหลากหลาย”
Reflection
วิทยากร
อ.ก๋วย พฤหัส พหลกลบุตร
สมาชิกกลุ่มละครมะขามป้อม ผู้ใช้เครื่องละครสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างขบวนการศึกษาเพื่อการปลดปล่อย อย่างมหาลัยเถื่อนและก่อการครู นักการศึกษารุ่นใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางการศึกษาทั้งในการศึกษาทางเลือกและการศึกษาในระบบ