พื้นที่ของการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ที่เปิดกว้าง

What’s new


บทความล่าสุด


FAQs

การภาวนา คืออะไร

การภาวนาคือการสัมพันธ์กับความว่าง อันเสมือนพื้นที่รองรับทุกประสบการณ์โดยไม่ตัดสิน รับรู้ทุกสิ่งอย่างที่มันเป็น เราบ่มเพาะคุณลักษณะของความตื่นรู้ที่มีอยู่ในเนื้อในตัว ศักยภาพที่จะรักโดยไร้เงื่อนไขของตัวตน และฝึกใช้ท่าทีนี้ในการสัมพันธ์กับสถานการณ์ในชีวิต

Somatic Meditation

คือการภาวนาด้วยร่างกาย​ เป็นการฝึกภาวนาที่ใช้ร่างกายเป็นฐาน​ ฝึกปล่อยวาง​จากความคิดแล้วกลับมาอยู่กับความรู้สึกตัวในร่างกาย​ อยู่กับประสบการณ์​ตรงที่เกิดขึ้น​ในร่างกาย​ เช่น​ sensation, intuition, feeling, felt sense ซึ่งกระบวนการภาวนาเช่นนี้จะทำให้เราวิ่งตามความคิดน้อยลงและรู้สึกตัว​หรือรู้เนื้อรู้ตัวมากขึ้น​ อยู่กับปัจจุบัน​ขณะ​ และสัมพันธ์​กับทุกสภาวะตามความเป็นจริงตรงหน้าโดยไม่ผ่านความคิด

โพธิจิต (Awaken Heart)

คือหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมี คือคำสอนที่เริ่มพูดถึงธรรมชาติของหัวใจที่ตื่น มันคือธรรมชาติของความว่าง ปราศจากอคติ และใจที่เปิดต่อกัน

สายธรรมของเรา

วัชรสิทธาได้รับการสืบทอดคำสอนจากเชอเกียม ตรุงปะ ผ่านเรจินัลด์ เอ เรย์ และส่งต่อมาสู่วิจักขณ์ พานิช

ในฐานะของผู้สืบทอดสายธรรม​ เชอเกียม​ ตรุงปะถือว่าอยู่ในนิกายกาคิว​ แต่ครูคนสำคัญของท่านคือท่านเซเซน​ คองตรูล​ มาจากนิกายญิงมา​ ตรุงปะจึงเป็นผู้สืบทอดทั้งสองนิกาย​ ทั้งสองนิกายเป็นสายปฏิบัติที่มีความใกล้ชิดกัน​ เน้นเรื่องการฝึกปฏิบัติที่เป็นหนทางไปสู่ความหลุดพ้น นิกายกาคิวสอนการปฏิบัติธรรมขั้นสูงที่เรียกว่ามหามุทรา​ ส่วนนิกายญิงมาสอนการปฏิบัติที่เรียกว่าอติโยคะหรือซกเชน

เชอเกียม ตรุงปะ

คือคุรุผู้เป็นต้นสายธรรมในทิเบต ลามะชาวทิเบตผู้ลี้ภัยออกจากบ้านเกิดตัวเองหลังถูกจีนยึดครอง ธรรมาจารย์คนสำคัญที่ทำให้พุทธธรรมเบ่งบานในโลกตะวันตก ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมชัมบาลากว่า 100 ศูนย์ทั่วทั้งทวีปอเมริกาและยุโรป ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแนวพุทธในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ตรุงปะเป็นหนึ่งในธรรมาจารย์ไม่กี่ท่านที่ยอมทิ้งคราบของความเป็นพระ และวัฒนธรรมทิเบตที่เขาเติบโตมา เพื่อการทำความเข้าใจชีวิตนักเรียนชาวตะวันตกของเขาอย่างไม่ถือตน

วัชรยาน

นิกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่พัฒนาต่อจากมหายาน เส้นทางของวัชรยานคือ มรรคาแห่งการไม่ปฏิเสธสิ่งใด การโอบรับทุกปรากฏการณ์ด้วยความรู้ตัว (awareness) คือเส้นทางไปสู่การมีอิสรภาพภายใน แก่นสำคัญของวัชรยานคือ การมองเห็นว่าธรรมชาติเดิมแท้ของทุกสิ่งนั้นศักดิ์สิทธิ์ วัชรยานเชื้อเชิญให้เราบ่มเพาะและขยายมุมมองอันศักดิ์สิทธิ์นี้ โดยมีการถ่ายทอดคำสอนผ่านประสบการณ์ระหว่างครู-ศิษย์ โดยใช้อุปายโกศลเป็นหลักในการเข้าถึงจิตเดิมแท้ ภาวะของการตื่นรู้


กิจกรรมของเรา


สื่อความรู้